จดหมายเหตุการอนุรักษ์พุทธศิลป์ สร้างพระโคนสมอ พระพิมพ์ดินเผา วัดชมภูเวก

พระพิมพ์เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก ทำจากดินลงมวลสารต่าง ๆ หรือชิน โดยมีแม่พิมพ์เป็นแบบ มีการจัดสร้างเป็นจำนวนมากและถูกบรรจุไว้ที่สถูปเจดีย์ เพื่อเป็นการสืบพระพุทธศาสนา และเป็นพุทธบูชา สำหรับในประเทศไทย เริ่มมีการสร้างพระพิมพ์ตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยแต่เดิมนั้นพระพิมพ์นั้นยังไม่มีชื่อเรียก จนเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผู้พบพระพิมพ์กองรวมเป็นจำนวนมากบริเวณโคนต้นสมอในวัดแห่งหนึ่ง จึงกลายเป็นที่มาของการเรียกชื่อพระพิมพ์ตามสถานที่พบว่า “พระโคนสมอ”

“จดหมายเหตุการอนุรักษ์พุทธศิลป์ สร้างพระโคนสมอ พระพิมพ์ดินเผา วัดชมภูเวก” เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ผลงานล่าสุดที่จัดทำโดย ห้องสมุด มสธ. ซึ่งริเริ่มมาจากการที่บุคคลากรของห้องสมุด ได้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสร้างความสุขในองค์กร ประกอบกับกิจกรรมการอนุรักษ์พุทธศิลป์ สร้างพระพิมพ์โคนสมอ ร่วมกับวัดชมภูเวก จ.นนทบุรี ซึ่งได้สร้างพระพิมพ์จำนวน 32,671 องค์ เมื่อรวมกับวัดแล้วครบ จำนวน 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ในพระไตรปิฎก จึงนำประสบการณ์ที่ได้รับมาถ่ายทอดเป็นหนังสือจดหมายเหตุ เพื่อบันทึกเป็นเหตุการณ์สำคัญและสารสนเทศท้องถิ่นในหนังสือชุดนนทบุรีศึกษา

เนื้อหาในเล่มจะแบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ประวัติความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป
ตอนที่ 2 พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
ตอนที่ 3 การอนุรักษ์พุทธศิลป์พระโคนสมอ วัดชมภูเวก
ตอนที่ 4 ขั้นตอนการพิมพ์พระโคนสมอ

สามารถอ่านเนื้อหาฉบับเต็มของ E-Book ได้ที่ : https://bit.ly/31cfzLu

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสนเทศ
02-504-7487-88
diis.stoulibrary@gmail.com

[real3dflipbook id=’19’]