แนะนำหนังสือดี ผลผลิตของสำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.

สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ดำเนินการครบรอบ 35 ปี ตั้งแต่ได้รับการยกฐานะจากหน่วยงานระดับศูนย์ เป็นหน่วยงานระดับสำนัก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักบรรณสารสนเทศ และสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2529 (อ่านฉบับเต็ม) โดยพระราชกฤษฎีกามีเนื้อหาใจความตอนหนึ่งว่า “เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ในสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ได้ขยายงานด้านบริการห้องสมุดและสื่อการศึกษาในระบบการสอนทางไกลมากขึ้น ประกอบกับโครงสร้างปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น เพื่อให้การบริหารงานเป็นอิสระและดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรยกฐานะศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดยจัดตั้งขึ้นเป็นสำนักบรรณสารสนเทศ…”

สำนักบรรณสารสนเทศ หรือห้องสมุด มสธ. ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษา และบริการสารสนเทศอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นพันธกิจหลัก นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตและจัดพิมพ์หนังสือ ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเผยแพร่และบริการสารสนเทศสู่สังคม โดยแบ่งหนังสือออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

หนังสือที่เป็นสารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย

  1. บรรณานุกรมผลงานวิชาการ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน พ.ศ. 2532 ( E-Book )
  2. บรรณานุกรมผลงานวิชาการ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน (พ.ศ.2506-2553) ( Z8972.18 บ44 2554 / E-Book )
  3. แรกมีใน มสธ. ( LG395 S85 ร72 2546 )
  4. แรกริ เริ่มมีที่ มสธ. ( LG395.S85 ร724 2553 )
  5. มสธ. ใต้ร่มพระบารมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ( DS586 ม53 2559 / E-Book )
  6. หลักและแนวปฏิบัติการจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล ( CD965.T5 ห46 2561 / E-Book )
  7. วิจิตรกิตติการ: ประวัติ ผลงานและบรรณานุกรมผลงาน (พ.ศ.2554-2561) ( Z8972.18 ว62 2561 / E-Book )
  8. วิจิตรลิขิต ( LB880 ว6 ว62 2561 / E-Book )

หนังสือชุดนนทบุรีศึกษา

จัดทำตั้งแต่ปี 2550 เป็นการรวบรวมสารสนเทศของจังหวัดนนทบุรีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและองค์ความรู้จากปราชญ์ท้องถิ่น

  1. วัดในอำเภอปากเกร็ด ( BQ6337 พ65 2550 / E-Book )
  2. ภูมินามอำเภอปากเกร็ด ( DSN65 พ65 2550 / E-Book )
  3. เครื่องปั้นดินเผานนทบุรี ( NK6 พ65 2550 / E-Book )
  4. เครื่องปั้นดินเผานนทบุรี ( 6 พ65 2550 / E-Book )
  5. วัดในอำเภอปากเกร็ด ( BQ6337 พ65 2550 )
  6. ภูมินามอำเภอปากเกร็ด ( DSN65 พ65 2550 )
  7. วัดในอำเภอไทรน้อย ( BQ6337 พ65ว39 2551 / E-Book )
  8. วัดในอำเภอบางบัวทอง ( BQ6337 พ65ว62 2551 / E-Book )
  9. ท้องถิ่นปากเกร็ด ( N65 พ656 2551 )
  10. ภูมินามอำเภอไทรน้อย ( N65 พ65ภ7 2552 / E-Book )
  11. ภาพเก่าเล่าเรื่องบางบัวทอง ( N65 ภ64 2552 / E-Book )
  12. ภูมินามอำเภอบางบัวทอง ( N65 พ6564 2554 )
  13. ท้องถิ่นบางบัวทอง ( N65 พ6563 2554 / E-Book )
  14. ปี่พาทย์มอญรำ ( ML525 พ65 2558 / E-book )
  15. นนทบุรีศรีมหานคร ( N65 พ65643 2560 / E-Book )
  16. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดชมภูเวก ( BQ6337.C48 พ65 2562 / E-Book )
  17. จดหมายเหตุการอนุรักษ์พุทธศิลป์ สร้างพระโคนสมอ พระพิมพ์ดินเผา วัดชมภูเวก ( E-Book )

หนังสือที่จัดทำในวาระและโอกาสพิเศษ

  1. 20 ปี บรรณสาร พัฒนาการที่ภาคภูมิ ( LGS85 ส79 2549 / นิทรรศการออนไลน์ )
  2. นวัตกรรมบรรณสาร พ.ศ. 2548-2555
  3. 120 ปี ผ่านฟ้า ประชาธิปก ( DS584 ร54 2557 / E-Book )
  4. พระราชสมัญญาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ( DS586 พ4628 2560 / E-Book )
  5. PULINET 3 ทศวรรษ ( 83.T52P8 ส64 2560 / E-Book )
  6. นวัตกรรมบรรณสาร พ.ศ. 2556-2563 ( LGS85 น56 2563 )

นนทบุรีศรีมหานคร รับรางวัลหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2561

หนังสือนนทบุรีศรีมหานคร ได้รับรางวัลดีเด่น กลุ่มหนังสือสารคดี จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2561 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งมีพิธีมอบรางวัลเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 โดยมีนางวรนุช สุนทรวินิต ผู้อำนวยการสำนักบรรณสารสนเทศ ณ ขณะนั้น และนายพิศาล บุญผูก เป็นผู้แทนคณะผู้จัดทำ เข้ารับพระราชทานรางวัลโล่เกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

หนังสือนนทบุรีศรีมหานคร จัดทำขึ้นภายใต้โครงการบริการวิชาการแก่สังคมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รวบรวมเรื่องราวของจังหวัดนนทบุรีครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี บางกรวย บางใหญ่ ปากเกร็ด บางบัวทอง และไทรน้อย ทั้งด้านประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนนทบุรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

  1. ครบรอบ 34 ปี สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.
  2. ย้อนรอย…กว่าจะเป็นหนังสือ… จากสารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย
  3. พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักบรรณสารสนเทศ และสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2529

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย
02-504-7467-68
diis.stoulibrary@gmail.com