ผู้สูงอายุ : โภชนาการและการพยาบาล

มนุษย์ทุกคนย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย โดยธรรมชาติของมนุษย์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่เริ่มอยู่ในครรภ์มารดา วัยทารก วัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ในช่วงเวลาเหล่านี้เซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบของการเสริมสร้างทำให้มีการเจริญเติบโต แต่เมื่อพ้นวัยผู้ใหญ่แล้ว เซลล์จะมีการเสื่อมสลายมากกว่าการเสริมสร้าง ทำให้สมรรถภาพและประสิทธิภาพการทำงานของอวัยต่าง ๆ ลดลงโดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล สำหรับการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุทังในด้านร่างกาย และจิตใจ อารมณ์ และเศรษฐกิจทั้งหมดเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างในแต่ละบุคคลไม่พร้อมและไม่เท่ากัน เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือพันธุกรรม สภาวะแวดล้อม แบบแผนการดำเนินชีวิต อาหารที่รับประทาน ภาวะสุขภาพกาย ภาวะสุขภาพจิต และอารมณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าอาหารเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มีผลอย่างมาก ต่อร่างกายและการดำเนินชีวิตของแต่ละคนทุกช่วงวัย ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมและรักษาโรค การบริโภคอาหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสุขภาพผู้สูงอายุ หากมีโภชนาการที่ดีจะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและลดปัญหาโรคต่างๆ  เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ  โรคความดัน และโรคเบาหวานได้นอกจากนี้ภาวะโภชนาการที่ดีจะช่วยลดกระบวนการชราภาพ และส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุคือ ไม่สามารถเคี้ยวอาหารแข็งๆ เช่น ผักสด หรือผลไม้ที่แข็งได้ จึงควรดัดแปลงการประกออาหารประเภทผัก หรือผลไม้ให้มีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย เพื่อให้ผู้สูงอายุบริโภคได้มากขึ้น  รวมถึงการดัดแปลงรสชาติอาหารให้เป็นไปตามความชอบแต่ไม่ควรให้มีรสจัด ไม่เค็มจัด ไม่หวานจัด หรือมีเครื่องเทศมากเกินไป โดยคำนึงถึงความครบถ้วน 5 หมู่ เป็นสำคัญ หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วย 6 บท ดังนี้

บทที่ 1 ประชากรผู้สูงอายุและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ
บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมในผู้สูงอายุ
บทที่ 3 การประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุ
บทที่ 4 ความต้องการพลังงาน สารอาหาร เส้นใยอาหารและน้ำในผู้สูงอายุ
บทที่ 5 การบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
บทที่ 6 การใช้กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

หนังสือเล่มนี้นอกจากจะเป็นคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลแล้ว บุคคลทั่วไปยังสามารถอ่านส่งเสริมภาวะโภชนาการและแก้ไขภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปใช้ดูแลพ่อแม่พี่น้อง ญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นการส่งเสริมให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายมีสุขภาพแข็งแรง อยู่กับพวกเราไปนานๆ

หากสนใจสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ห้องสมุด http://bit.ly/3lrQfhQ