การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช : แนวคิดสำหรับการปฏิบัติงานบนคลินิก

สังคมปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างมากทั้งด้านการเรียน การงาน รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจ  การใช้ชีวิตในภาวะเร่งรีบและกดดันตลอดเวลา ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตมากขึ้น โดยเฉพาะการสื่อสารที่ทำให้ทุกคนรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็วให้เห็นถึงสภาวะที่ผู้คนในสังคมป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และเกิดการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง

ดังนั้นการมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ การเกิดโรคทางจิต ย่อมเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรหาความรู้เพื่อรับมือกับโรคนี้ให้ได้ เพื่อเป็นการสังเกตุอาการตัวเองและคนรอบข้าง และโดยเฉพาะอาชีพพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ต้องรับมือกับการแสดงอารมณ์ของผู้ป่วยได้อย่างดีและไม่กระทบความรู้สึกคนป่วย

การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช: แนวคิดสำหรับการปฏิบัติงานบนคลินิก เล่มนี้ใช้เป็นสื่อในการพัฒนาตนเอง สำหรับการวิเคราะห์และดูแลบุคคล/ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตตามกระบวนการพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยทางโรคจิตเวชของคนไทย คือ โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว และโรคจิตเนื่องจากสารเสพติด โดยการวิเคราะห์ประเมินสุขภาพจิตใช้กรอบแนวคิด ชีว-จิต-สังคม และปัจจัย (4Ps) เพื่อนำมาตีความและสังเคราะห์เป็นรายงานผู้ป่วย เนื้อหาของหนังสือแบ่งเป็น 3 หน่วย ได้แก่

  1. หน่วยที่ 1หลักการพื้นฐานการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพ ทักษะที่สำคัญในการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางจิต และการพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตด้วยกรอบแนวคิดชีว-จิต-สังคม และ 4 ปัจจัย (4Ps)
  2. หน่วยที่ 2 ประกอบด้วย 2 บท ได้แก่ การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ และกระบวนการพยาบาลและการบันทึกการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาทางจิต
  3. หน่วยที่ 3 ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท การพยาบาลผู้ป่วยด้วยโรคทางอารมณ์ การพยาบาลผู้ป่วยด้วยโรคจิตจากแอลกอฮอลล์ และสารเสพติด     

สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่  bit.ly/3YJVV4A