สารสนเทศนนทบุรีศึกษา

สารสนเทศนนทบุรีศึกษา เป็นสารสนเทศเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาที่สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ดำเนินการจัดทำขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 18 ปี ที่ห้องสมุดมีงานส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน ที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดนนทบุรี อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านท้องถิ่นนนทบุรี สนองตอบพันธกิจของมหาวิทยาลัยในด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ในด้านการบริการวิชาการต่อชุมชน สังคมและประเทศ

ในการจัดการสารสนเทศเทศนนทบุรีศึกษาของสำนักบรรณสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาสภาพเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา การพัฒนาต้นแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเผยแพร่สารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาสู่สาธารณชน และมีกระบวนการตั้งแต่การสืบเสาะแสวงหา รวบรวมความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล สถานที่และเรื่องราวที่ถ่ายทอดกันระหว่างบุคคลในครอบครัวและชุมชน รวมทั้งความรู้ที่บันทึกไว้เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์เก่าหายาก ซึ่งล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเสี่ยงที่อาจจะสูญหายไปตามกาลเวลา จึงนำมาดำเนินการจัดเก็บและอนุรักษ์ รวมทั้งการจัดหมวดหมู่ การทำรายการเครื่องมือช่วยค้นตามหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยประยุกต์หลักการด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งเผยแพร่ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ หนังสือ จำนวน 17 ชื่อเรื่อง 23 เล่ม นิทรรศการเคลื่อนที่ จำนวนมากกว่า 50 ชื่อเรื่อง และในรูปแบบสื่อดิจิทัล อาทิ นิทรรศการออนไลน์ จำนวนมากกว่า 90 เรื่อง และอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น คลิปวิดีโอ, พอตแคสต์, เกม AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) เป็นต้น

ปัจจุบันสำนักบรรณสารสนเทศได้เผยแพร่องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษาในหลากหลายช่องทาง เช่น คลังความรู้นนทบุรีศึกษา บทความออนไลน์และนิทรรศการออนไลน์ในเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์, คลิปวิดีโอและพอตแคสต์ในยูทูป รวมทั้งมีการลงพื้นที่จัดบูธกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นการให้บริการห้องสมุดแก่ชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนภารกิจด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยที่กว้างขวางและยั่งยืนต่อไป 

ข้อมูลเพิ่มเติมและบริการที่น่าสนใจ 

  • หนังสือ “นวัตกรรมบรรณสาร พ.ศ. 2548-2555”

ร้อยเรื่องเล่า… 100 ความทรงจำ

เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”

ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่