“ประเทศนี้เป็นของราษฎร” คำประกาศอิสรภาพของการปฏิวัติ 2475 ซึ่ง การปฏิวัติ 2475 ถือเป็นการเปิดประตูให้สังคมไทยก้าวสู่การเมืองแบบประชาธิปไตยที่เปลี่ยนอำนาจสูงสุดในการปกครองจากเดิมเคยอยู่ที่ตัวบุคคล ให้มาอยู่ในมือประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ดังนั้น การปฏิวัติ 2475 ไม่เพียงเป็นเหตุการณ์สำคัญที่อยู่ในความทรงจำของคนหนุ่มสาวสมัยนั้นเท่านั้น แต่เหตุการณ์นี้ยังได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างมาก ทำให้ประชาชนรู้ถึงสิทธิ หน้าที่ทางการเมือง ความเสมอภาค และเสรีภาพ
หนังสือเล่มนี้จึงเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเหตุการณ์การปฏิวัติ 2475 ของคณะราษฏร ความฝันใฝ่ของคนรุ่นใหม่สมัยคณะราษฎ
หนังสือราษฎรปฏิวัติเล่มนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุผลว่าในปี พ.ศ. 2565 เป็นวาระครบ 90 ปี ของการปฏิวัติ หนังสือเล่มนี้จึงเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเหตุการณ์การปฏิวัติ 2475 ของคณะราษฏร ความฝันใฝ่ของคนรุ่นใหม่สมัยคณะราษฎร ผลงานของณัฐพล ใจจริง พาผู้อ่านย้อนอดีตไปหาคนรุ่นใหม่ (ทางความคิด) ในยุคแรกสร้างประชาธิปไตยที่ประกอบขึ้นจากคนหนุ่ม ทั้งทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนหลากหลายอาชีพเข้าทำการเปลี่ยนแปลง เนื้อหาในเล่มแบ่งออกเป็น 4 ภาค คือ
อารัมภบท : “ผมได้เห็นเหตุการณ์การปฏิวัติ…”
ภาค 1 คณะทหารหนุ่มกับการ “เก๊กเหม็ง” สยาม
ภาค 2 คณะราษฏรกับการปฏิวัติ 2475
ภาค 3 “เยาวรุ่น” หลัง 2475
ภาค 4 “โลกใหม่” ของคนหนุ่มสาวสมัยประชาธิปไตย
ในต้นปี พ.ศ. 2564 เกิดคำว่า “เยาวรุ่น” ที่มาจากการผสมระหว่างคำว่า เยาวชน+วัยรุ่น อันหมายถึง เยาวชน คนรุ่นใหม่ อายุน้อย ที่มีความรู้สึกร่วมกันถึงความเป็นเจ้าของ พร้อมจะยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่น ต่อมาคำดังกล่าวถูกนำมาใช้เรียกขานกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนหนุ่มสาวผู้มีความเชื่อมั่นในความคิดอุดมคติทางการเมือง และต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้มีเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ เช่น เยาวชนทะลุแก๊ส การเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มคนหนุ่มสาวหรือเยาวรุ่นในรอบหลายปีที่ผ่านมา จึงมีนัยต่อความมุ่งหมายเปลี่ยนแปลงสังคมและปฏิรูปสถาบันการเมืองอย่างสำคัญ
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับการเมืองของประเทศไทยช่วงนี้ เนื่องจากใกล้ถึงวันเลือกตั้งแล้ว ซึ่งการเลือกตั้งในปี 2566 ถูกกำหนดแล้วว่าเป็นวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นการเลือกตั้งที่จะกำหนดอนาคตว่า ประเทศไทยจะเดินไปในทิศทางไหน เป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้ตัดสินใจว่าอยากเห็นพรรคการเมืองไหนเป็นพรรครัฐบาล ประชาชนมีสิทธิเลือกทั้ง ‘คนที่รัก’ และ ‘พรรคที่ชอบ’ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น หากเราหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งปี 2566 ต้องช่วยกันออกไปทำหน้าที่ออกเสียงของตัวเอง
หากสนใจหนังสือเล่มนี้ ตรวจสอบสถานะ