การเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบวงกว้างต่อแวดวงการศึกษาในหลายแง่มุม ตั้งแต่การปิดการเรียน ปรับมาใช้การเรียนการสอนผ่านกลไกต่างๆ แต่อีกด้านโควิด-19 กลายเป็นแรงผลักดันบังคับให้เกิดการปรับตัวและนำมาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบการศึกษาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Zoom, Microsoft Team เป็นต้น จนกลายเป็นช่องทางให้นักศึกษาและอาจารย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น และแนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบ ผู้เรียนจะเป็นผู้เลือก เมื่อไหร่ ที่ไหน เวลาใด ตามอัธยาศัยของผู้เรียน จึงทำให้มหาวิทยาลัยจะต้องพัฒนารูปแบบและจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอนออนไลน์มีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อจำกัดถ้าผู้เรียนขาดแรงกระตุ้นและแรงจูงใจในการเรียนที่ต้องอาศัยปัจจัยภายในของผู้เรียน ได้แก่ ความสามารถ สุขภาพจิต การรับรู้ตน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ดังนั้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีการเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุคดิจิทัล
การเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล เป็นหนังสือที่อธิบายถึงคำว่าการจูงใจ และความสำคัญของการเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยมีเนื้อหา 10 บท ดังนี้
บทที่ 1 ความสำคัญของการจูงใจผู้เรียนในยุคดิจิทัล
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการเรียน
บทที่ 3 การกำกับตนเอง
บทที่ 4 การรับรู้ความสามารถของตนเอง
บทที่ 5 การอนุมาณสาเหตุ
บทที่ 6 เป้าหมายในการเรียน
บทที่ 7 ความสนใจ
บทที่ 8 การเห็นคุณค่า
บทที่ 9 อารมณ์ในการเรียน
บทที่ 10 แนวโน้มการศึกษาเรื่องการจูงใจผู้เรียนในยุคดิจิทัล
หนังสือเล่มนี้เหมาะสมกับการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อหาวิธีการจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการเรียนในยุคดิจิทัล

หากสนใจหนังสือเล่มนี้ ตรวจสอบสถานะ และยืมหนังสือเล่มนี้ได้ที่ห้องสมุด มสธ. ค่ะ