ถึงยุคของคุณภาพและความเป็นเลิศ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอแนวคิดเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 Part ได้แก่
Part I เมื่อโลกเปลี่ยน ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดว่าด้วยโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความซับซ้อน ผันผวน ไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการศึกษาการปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digitallization) ซึ่งสังคมยุคใหม่ได้นำเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการใช้ชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ ด้านการเกษตร ฯลฯ ซึ่งสำหรับด้านการศึกษาเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพและความเป็นเลิศของนักเรียน อาจารย์ และสถานศึกษาที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล
Part II การศึกษาปรับ เพื่อให้การศึกษาไทยปรับตัวได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง มีคุณภาพทัดเทียมอารยประเทศ ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ทุกอย่างต้องใช้ประโยชน์ได้ การจัดการศึกษาที่สามารถเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ กับใครก็ได้ การสอนแบบไม่สอน บทบาทของครูในการเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน การเรียนการสอนต้องเน้นการสร้างสมรรถภาพและนวัตกรรม การสอนให้เด็กเติบโตเต็มตามศักยภาพ และการศึกษาเป็นของเด็กไม่ใช่ของครูหรือผู้ปกครอง ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ประโยชน์ทันเวลา การเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ทั้งสถานที่จริงและสถานที่เสมือนจริง การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง
Part III รับจิตวิญญาณใหม่ นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนถ้าทำเราต้องทำได้ เว้นแต่เราจะไม่ทำ ถึงยุคของคุณภาพและความเป็นเลิศ ความเหมือนหายไป ความใหม่จะเข้ามาแทน ถึงยุคที่ใครต้องการแบบไหนก็ผลิตเอาเอง สังคมที่ไม่มีการสอน มีแต่การเรียน การเตรียมความพร้อมรับความไม่แน่นอน การสอนต้องเน้นคุณภาพและความเป็นเลิศ ไม่ใช่ได้แค่เพียงมาตรฐาน พร้อมรับความไม่แน่นอน ต้องก้าวให้พ้นจากสภาวะหลังเขา และเมื่อผู้บริหารการศึกษาไทยเป็นเยี่ยมแล้วการศึกษาไทยจึงจะเป็นเยี่ยมได้ สุดท้ายได้เสนอ New Mindset ทางการศึกษาไทยควรเป็นอย่างไร
สำหรับประเทศไทย ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะสนับสนุน ผลักดันระบบการศึกษาให้มีการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมีความรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในมิติต่าง ๆ สามารถนำองค์ความรู้ และทักษะต่าง ๆ มาใช้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในทุกมิติ และทัดเทียมอายรประเทศได้
หากสนใจหนังสือเล่มนี้ ตรวจสอบสถานะ