ชุมชน นับเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งส่งผลต่อสังคมและระดับประเทศในการพัฒนาทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพที่เป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานของบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงในด้านสุขภาพทั้งการใช้สารเสพติดที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ดังนั้นการสื่อสารสุขภาพที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้รอบรู้ด้านสุขภาพที่สามารถจัดการกับสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวได้ และช่วยลดภาระการรักษาพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุข เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพ มีความเท่าเทียมในสังคมให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ เป็นการนำเสนอหลักการสำคัญของการสื่อสารสุขภาพชุมชนและความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน รวมทั้งแนวทางพัฒนาการสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการทำงานและการวิจัยด้านสุขภาพต่อไป โดยมีเนื้อหาดังนี้
บทที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพกับการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 3 ทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 4 การดำเนินงานสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 5 การประเมินการสื่อสารสุขภาพชุมชน
บทที่ 6 ปัจจัยกำหนดสุขภาพชุมชน
บทที่ 7 ความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน
บทที่ 8 แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพชุมชน
หากสนใจหนังสือ ตรวจสอบสถานะ และยืมได้ที่ห้องสมุด มสธ. ค่ะ