อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย.(2563).ชาวนารัก(ษ์)โลก ลดภาวะโลกร้อน. วารสารเกษตร มสธ.,2(1), 5-15.https://so01.tci-thaijo.org/index.php/stouagjournal/article/view/246596/166663
ภาวะโลกร้อน (global warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยบนโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกหรืออุณหภูมิน้ำในมหาสมุทร สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากปริมาณก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases;GHG) เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นไปรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ปกติสามารถสะท้อนกลับออกไปได้ในปริมาณที่เหมาะสม แต่กลับถูกก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ดูดซับกักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม ภาวะเรือนกระจกจึงเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
บทความนี้ได้ให้ข้อมูลในภาคการเกษตร ที่พบว่า ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คือ ก๊าซมีเทน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ ซึ่งมาจากในนาข้าว การใช้ปุ๋ย และปศุสัตว์ ในการปลูกข้าว มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่วนมากเป็นก๊าซมีเทน ปริมาณ 27.86 ล้านตัน (หรือประมาณ 55%ของภาคการเกษตร) ก๊าซมีเทนที่เกิดนี้มาจากการปลูกข้าวในสภาพนาที่มีน้ำขัง
ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะวิธีการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำนา อาทิ การปรับสภาพที่นาให้เรียบ สม่ำเสมอการจัดการน้ำด้วยการให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง ทาให้ดินมีก๊าซออกซิเจนเป็นระยะๆ จะช่วยลดปริมาณการลดการปล่อยก๊าซมีเทนและลดการใช้น้ำในการปลูกข้าวได้ และการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำที่ถูกต้อง จะลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งได้
ซึ่งนอกจากจะทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายทั้งการสูบน้ำ การใช้ปุ๋ย ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิตตระหนักต่อผลกระทบที่อาจจะทำให้เกิดจากสภาวะโลกร้อนนั้น จะสนับสนุนแนวนโยบายการช่วยลดภาวะโลกร้อนในภาคการเกษตรได้ และชาวนาที่ได้ปฏิบัติตามแนวทางนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ชาวนารักษ์โลก”ได้เช่นกัน
เรียบเรียงโดย
นางสาวภัทรศยา สนองผัน บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ