“ให้ลูกเล่มเกมส์จะดีไหม ลูกจะกลายเป็นคนอารมณ์รุนแรงรึเปล่า”
ความกังวลใจของพ่อแม่เมื่อลูกขอเล่นเกมส์ ความกลัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลต่ออารมณ์ อุปนิสัยของลูกหรือไม่ แต่จริงแล้วการเล่มเกมส์คงไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียว แล้วพ่อแม่จะดูแลลูกได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดทางสายกลางในการเล่มเกมส์ ไม่ให้เป็นการเข้มงวดกับลูกจนเกินไป นิตยสารแม่และเด็ก ฉบับตุลาคม-พฤศจิกายน 2566 คอลัมน์จิตวิทยาลูกรัก ได้แนะนำวิธีพิจารณาในการให้ลูกเล่นเกมส์ไว้ ซึ่งรวมถึงเกมบนโทรศัพท์มือถือด้วย
พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรพิจารณาเนื้อหาของเกมส์ว่าเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของช่วงอายุของลูกเราหรือไม่ รวมถึงการจำกัดเวลาในการเล่นเพื่อให้ลูกได้มีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นด้วย แต่ผลกระทบจากเกมส์ถ้าเล่นมากเกินไป จะทำให้เสียโอกาสพัฒนาทางสมองเพราะเด็กที่เล่นเกมส์จะใช้ประสาทสมองแค่เฉพาะสายตาเท่านั้น ในด้านความรุนแรง เนื่องจากฉากต่าง ๆ ในวิดีโอเกม ปัจจุบันมีความสมจริงมากขึ้น ทำให้ภาพจำของเด็กมีฉากความรุนแรงชัดเจนขึ้น และเด็กจะจดจำภาพความรุนแรงเหล่านั้นได้
แต่นอกจากข้อเสียแล้ว ข้อดีของการเล่นเกมส์ก็มีเช่นกัน ในเรื่องของการช่วยพัฒนาเชาวน์ปัญญา การวางแผน การใช้กล้ามเนื้อมือและตา และหากพ่อแม่ร่วมเล่นเกมส์กับลูกด้วยจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น
- “การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัยในครอบครัว” 1 ครอบครัว ประกอบด้วยคนหลากหลายวัย อาจจะมีทั้ง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ลูกหลาน การใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นหรือไม่ ในเมื่ออายุ ความรู้ และประสบการณ์มีความแตกต่างกัน
- “เคล็ดลับเลี้ยงลูกไม่ติดจอ” พบกับความคิดเห็นของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเพื่อไม่ให้ลูกติดโทรศัพท์
- “ปิดเทอมนี้หนูไปทำงานกับแม่” ช่วงปิดเทอมแบบนี้ บางบ้านคุณแม่อาจต้องพาลูกไปทำงานด้วย ตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน มีอะไรที่พ่อแม่ต้องคำนึงถึงบ้างทั้งในเรื่องความปลอดภัยและการเข้าสังคม
ติดต่อขอใช้บริการนิตยสารแม่และเด็กได้ที่ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร