รองศาสตราจารย์ มาลี ล้ำสกุล ผู้อำนวยการคนที่ 2 ของสำนักบรรณสารสนเทศ (1 กรกฎาคม 2537 – 10 พฤศจิกายน 2539)

รองศาสตราจารย์มาลี ล้ำสกุล เป็นผู้สานต่อนโยบาย ขยายเครือข่ายบริการและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

ประวัติ

ท่านสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทจากอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ โรงเรียนศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2524 และได้โอนย้ายมาทำงานที่สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ. จากนั้นปี พ.ศ. 2534 จึงย้ายไปเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสำนักบรรณสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ถึง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

ในระยะเวลา 2 ปี ที่ท่านได้กำกับดูแลและบริหารงานนั้น ห้องสมุด มสธ. ได้มีพัฒนาการในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการเปิดแหล่งเรียนรู้ ขยายเครือข่ายห้องสมุด พัฒนาบริการและเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ บทบาทและงานบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ห้องสมุด มสธ. ได้พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดโดยขยายฐานข้อมูลที่มีอยู่ให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งศูนย์วิทยบริการ (ชื่อในสมัยนั้น) และเครือข่ายต่างประเทศ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (ThaiLiNet (M)) ร่วมกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 12 แห่ง ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้ได้มีการขยายความร่วมมือเป็นโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จมาก นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีพัฒนาการที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ เมื่อ พ.ศ.2538 ได้มีการเปิดห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ซึ่งห้องนี้นับเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการสารสนเทศในรัชสมัยที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวแก่มหาวิทยาลัยและสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง

สำหรับพัฒนาการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุด มสธ. เมื่อ พ.ศ.2539 ได้ทำการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมห้องสมุดเพิ่ม ได้ซึ่งจัดหาระบบย่อย Acquisition and Fund Accounting และ Journal Indexing และพัฒนาการในด้านบริการ อีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ คือ ห้องสมุดได้เริ่มเปิดบริการให้ผู้รับบริการสามารถสืบค้นสารสนเทศออนไลน์เป็นครั้งแรกผ่าน OPAC (Online Public Access Catalog) จึงนับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาห้องสมุด มสธ. แก่ผู้ใช้ในปี พ.ศ. 2539

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม

? ผลงานทางวิชาการ หนังสือ สองทศวรรษการศึกษาทางไกลสารสนเทศศาสตร์ ?bit.ly/3PXDJAQ
? ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การสังเคราะห์องค์ความรู้ห้องสมุดมีชีวิต รูปแบบอุทยานการเรียนรู้ ?bit.ly/3buysl1
? หนังสือ “20 ปี บรรณสาร พัฒนาการที่ภาคภูมิ” ?bit.ly/3LhZXe7

ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจ

เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”

ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่

เรียบเรียงโดย

ดวงรัตน์ ดีขั้ว บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ

[sc name=”libinfoservice” ][/sc]