คำว่า “ผี” ในความรู้สึกของคนทั่วไป คงรู้สึกกลัวไม่มีใครอยากเจอ แต่สำหรับความเชื่อของคนในภาคอีสาน ที่ความหมายอาจจะคนละอย่างกัน เพราะคำว่า “ผี” ของอีสาน หมายถึงขวัญของคนตายที่อยู่ในอีกมิติหนึ่งที่ยังเชื่อมโยงผูกพันอยู่กับครอบครัว และเกี่ยวเนื่องกับความเป็นอยู่ จารีตประเพณีของคนในพื้นที่ด้วย
สารคดี ฉบับสิงหาคม 2566 จะพาไปดูเรื่องราวของเรื่องผีๆ ในภาคอีสาน ทั้งชนิดของผี ไม่ว่าจะเป็นผีกะ ผีปอป ผีเป้า ผีโพง ผีกองกอย และผีพราย ที่มาจากความเชื่อ มโนทัศน์ ที่บางส่วนก็อาจถูกปรับแต่งเพิ่มเติมไป รวมถึงพาไปดูพิธีกรรมในการไหว้ผี เครื่องเซ่นไหว้ การแต่งกายในการทำพิธีกรรม และพาไปพบกับเรื่องผีในภาพยนตร์ไทย ที่ถือเป็นพล็อตเรื่องยอดนิยมของภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะ ผีกระสือ ผีปอป ที่ถูกนำมาถ่ายทอดอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในเชิงความน่ากลัวหรือตลกขบขัน รวมถึงเรื่องราวของร่างทรงที่เป็นผู้สื่อสารระหว่าง 2 โลก ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นการหลอกลวง
ร่วมหาความรู้ว่าในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากมาย แต่ทำไมความเชื่อเรื่องผีของชาวภาคอีสานยังคงฝังรากแน่น ปัจจัยต่างๆ มีอะไรบ้าง และการนับถือผี แตกต่างจากการนับถือศาสนาหรือไม่ และอะไรคือหลักคำสอนในการใช้ชีวิต
ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร