แนะนำหนังสือ (Open Access): บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

King RAMA VII Book

ผู้แต่ง: ชาญชัย รัตนวิบูลย์ 

สำนักพิมพ์: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า   

ปีที่พิมพ์: พ.ศ.2548 

จำนวนหน้า: 252 หน้า 

แนะนำ: 

ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตที่มีการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์บทบาทอภิรัฐมนตรีสภาด้านการคลังและการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและผลสะท้อนของการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยนักเขียนได้นำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางราชการ อาทิ รายงานการประชุม ร่างพระกฤษฎีกา ร่างพระราชบัญญัติ ประกาศทางราชการ คำแถลงและบันทึกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง เป็นส่วนประกอบ 

อภิรัฐมนตรีสภาเป็นสภาที่มีบทบาทมากที่สุดในขณะนั้น ซึ่งสามารถคัดค้านโครงการพระราชทานรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ทำให้มีผู้คิดว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา จึงมีบุคคลบางกลุ่มคิดลดอำนาจของอภิรัฐมนตรีสภาโดยการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อรัฐบาลทราบแผนการดังกล่าวและเตรียมการจับกุม ทำให้กลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจพระราชประสงค์ที่แท้จริงของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในสมัยนั้น ความคิดเห็นของคณะราษฎรและประชาชนที่มีต่ออภิรัฐมนตรีสภา และสถาบันพระมหากษัตริย์  

URL: https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1107?page=6

บรรณานุกรม (APA):  

ชายชัญ รัตนวิบูลย์. (2548). บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. สืบค้นจาก https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1107?page=6

เรียบเรียงโดย

ดวงรัตน์ ดีขั้ว และรัชกร คงเจริญ บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: 

หน่วยสนเทศสุโขทัยศึกษา ฝ่ายบริการสนเทศ
02-504-7467-68
libinfoservice@stou.ac.th