“ไทยติดอันดับโลกทุกปี กับ PM 2.5”
“โกรทฮอร์โมน เมื่อต้องโตแต่ไม่โต”
พบกับ 2 เรื่องเด่นในนิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับเมษายน 2566 เรื่องแรกกับสถานการณ์เด่นประจำวันที่ช่วงนี้ตื่นนอนตอนเช้า สิ่งแรกที่ต้องทำคือการตรวจสอบค่าฝุ่น PM 2.5 ซึ่งในหลายๆ ครั้ง ที่ค่าฝุ่นของประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีค่าฝุ่นมากที่สุดของโลก ซึ่งเป็นการติดอันดับโลกที่เราก็คงไม่ยินดีเท่าใดนัก เพราะสิ่งนี้เป็นฝุ่นที่สามารถเข้าไปในถุงลม หลอดเลือด ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง และโรคระบบทางเดินหายใจ สำหรับค่าฝุ่น PM 2.5 ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัม สถานการณ์นี้เกิดจากอะไร และจะคลี่คลายได้หรือไม่ หรือการใช้กฎหมายมาช่วยควบคุมจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่เราจะควบคุมให้เกิดการปฏิบัติได้ดีเพียงไร และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลต่ออายุขัยเฉลี่ยและคุณภาพชีวิตของคนไทยมากน้อยเพียงใด
เรื่องที่ 2 กับเรื่องที่พ่อแม่ ผู้ปกครองคงกังวลใจในเรื่อง “โกรทฮอร์โมน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเด็กๆ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตทั้งในส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อ หากมีมากเกินไป จะทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ และหากมีน้อยเกินไป จะทำให้ร่างกายตัวเล็กผิดปกติ และเราจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ได้รับโกรทฮอร์โมนในระดับที่เหมาะสม หาคำตอบได้ในนิตยสารเล่มนี้
สามารถติดต่อขออ่านได้ที่ ห้องสมุด มสธ. อาคารบรรณสาร ชั้น 1 มุมวารสาร