สมรรถนะดิจิทัล: ทักษะเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของการประชุมเอเปคด้านการศึกษา 2022

จุฬารัตน์ บุษบงก์. (2566).สมรรถนะดิจิทัล: ทักษะเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของการประชุมเอเปคด้านการศึกษา 2022. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 18(24), 70-85. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/view/264098/173574

บทความได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาจากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561–2580 และแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของเอเปค (APEC Education Strategy) จากการประชุมเอเปคด้านการศึกษา ปี 2022 โดยเครือข่ายด้านการศึกษาได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเอเปค (APEC Education Strategy) ร่วมกัน โดยมุ่งเป้าคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน 3 ประการ ดังนี้
1. การยกระดับสมรรถนะ (Enhancing Competencies)
2. การสร้างเสริมนวัตกรรม (Accelerating Innovation)
3. การเพิ่มความสามารถในการทำงาน (Increase Employability)

ซึ่งสมรรถนะดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้การศึกษาเกิดความยั่งยืน โดยสมรรถนะดิจิทัลประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1.การเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy)
2.การใช้ดิจิทัล (Digital Skill/ICT Skill)
3.การผลิตและการติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Produce and Communication in Digital’s Tool)
4.การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Problem Solving with Digital tools)
5.การประเมินข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล (Evaluating in Digital Information Technology)
6.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีจริยธรรม (Ethics of Digital Technology used)

นอกจากนี้ผู้เขียนบทความได้นำเสนอองค์ความรู้เรื่องสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competency) ดังนี้
1.ความหมายของสมรรถนะด้านดิจิทัล
2.สมรรถนะดิจิทัล :สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2.1 สมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
3.สมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับพลเมืองไทย:กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
4.ความฉลาดทํางดิจิทัล : มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน
ฯลฯ

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น