บทความแนะนำ: 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ ถือเป็นวันสำคัญแห่งประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จออก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทย นับเป็นการพระราชทานพระราชอำนาจแก่ปวงชนชาวไทยโดยสมบูรณ์ ภายหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

ห้องสมุด มสธ. ขอแนะนำบทความวารสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย ดังนี้

อ่านความหมายหมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ ในสมัยคณะราษฎร

ในบรรดาอนุสาวรีย์หรือวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการรำลึกบุคลหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยนั้น “หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ” หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “หมุดคณะราฎร” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกฝังอยู่กลางลานพระบรมรูปทรงม้า อันเป็นวัตถุแห่งความทรงจำสมัยคณะราษฏรที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยาม 

ถึงแม้ว่าหมุดคณะราษฎรจะถูกใช้เป็นอนุสรณ์ในวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครองและถูกฝังขึ้นมาจากดำริของพระยาพหลฯ และได้ฝังลงในวันที่ 10 ธันวาคม 2479 แต่ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลับไม่มีผู้ใดเอ่ยถึงอนุสรณ์สถานแห่งการรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือการได้รับมาซึ่งประชาธิปไตยเลย และยังสร้างข้อสงสัยอีกว่า ทำไมถึงทำพิธีในที่ 10 ธันวาคมแทนที่จะเป็น 24 มิถุนายน

บรรณานุกรม (APA):  
ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2565). อ่านความหมายหมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญในสมัยคณะราษฎร. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, 43(8), 58-78.

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย

ตำแหน่งผู้แทนพระองค์เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์เพราะว่าเมื่อพราะราชบัลลังค์ว่างลงและยังไม่มีการอัญเชิญพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ หรือในเวลาที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงทำหน้าที่ของประมุขได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะเป็นประมุขของรัฐแทน ทำให้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ใช่ตำแหน่งที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จะเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงประเภท บทบาท และการได้รับความคุ้มรองรวมถึงระบบการแต่งตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาการของกระบวนการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประวัติศาสตร์ไทยอีกด้วย

บรรณานุกรม (APA):  
อนุชา อชิรเสนา. (2561). ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 11(3), 620 -631.

อ่านบทความวารสารฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/147804/108809

การปฏิรูปราชสำนักสยามในสมัยรัฐธรรมนูญ

การปฏิรูปราชสำนักสยามในสมัยรัฐธรรมนูญ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้ตัดสินใจยุบสำนักราชเลขาธิการที่ทำหน้าที่ดูแลกิจการภายในราชวังและกิจกรรมส่วนพระองค์ลง พร้อมกับจัดตั้งทบวงราชวังขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลกิจการภายในแทน ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นกระทรวงวังแทน ซึ่งในระหว่างนั้นก็ได้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างราชสำนักกับทางรัฐบาลจนเป็นหนึ่งในปัจจัยจนนำไปสู่การสละราชสมบัติ และการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจนกลายมาเป็นสำนักพระราชวังในปัจจุบัน

บรรณานุกรม (APA):  
ปราการ กลิ่นฟุ้ง. (2561). การปฏิรูปราชสำนักสยามในรัฐธรรมนูญ. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, (5)2, 124 -169.

อ่านบทความวารสารฉบับเต็มได้ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history/article/view/167745/120853

หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ : สถานะและความผูกพันธ์ทางกฎหมาย

หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ : สถานะและความผูกพันธ์ทางกฎหมาย

รัฐธรรมนูญของชาติไทยทุกฉบับได้มีการระบุถึง ”สิทธิ” และ ”หน้าที่” ของประชาชนเอาไว้ ถึงแม้จะแตกต่างกันไปบ้าง ในแต่ละฉบับ แต่ก็มีการระบุเอาไว้ให้ทราบและพึงให้ประชาชนชาวไทยทุกคนนำไปปฏิบัติตาม และก็มีการนำมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญของประเทศอื่น ๆ ด้วยว่าประชาชนในประเทศนั้น ๆ มีสิทธิและเสรีอย่างไรบ้าง

นอกจากจะกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยแล้ว ยังมีภาระผูกพันธ์พิเศษที่กำหนดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการต่าง ๆ ว่าสิ่งใดสามารถทำได้หรือสิ่งใดไม่สามารถทำได้

บรรณานุกรม (APA):  
กษมา เดชารักษ์และชุติพงษ์ สมทรัพย์. (2561). หน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ : สถานะและความผูกพันธ์ทางกฎหมาย. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 14(2), 193-210.

อ่านบทความวารสารฉบับเต็มได้ที่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan/article/view/120474/117754

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ

บทความออนไลน์: 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก

บทความออนไลน์: 27 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับ “ชั่วคราว” ฉบับแรกของประเทศไทย

อินโฟกราฟิก: วันนี้เมื่อ ๙๐ ปีที่แล้ว… ๑๐ ธันวาคม พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕

เรียบเรียงโดย

ธนพล นนทสุตวงศ์ บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น