เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์. (2562).ประเพณีสงกรานต์ : มรดกร่วมทางวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), 18-34
บทความนำเสนอผลจากการศึกษาในเรื่องมรดกร่วทางวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และวียดนาม โดยได้นำเสนอผลการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดมรดกร่วมทางวัฒนธรรมของประเทศในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่ประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลต่อการแพร่กระจายทางด้านวัฒนธรรมของประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้บทความได้นำเสนอข้อมูลและตำนานของประเพณีสงกรานต์ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เช่น
- ไทย บอกเล่าถึงตำนานความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ที่เล่าขานสืบกันมาตั้ง
- ลาว เรียกว่า “บุญปีใหม่”
- เมียนมาร์ เรียกว่า “ด่ะจ่าน”
- กัมพูชา เรียกว่า “บน โจล ชนัม ทเม็ย”
- เวียดนาม เรียกว่า “ประเพณีฉลองปี๋ไม่ ” หรือ “ซ่างฮ่าน “
ผู้เขียนบทความได้อธิบายเพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องราว รากเหง้าความเป็นมา ความเชื่อ ความศรัทธา ผ่านประเพณี วัฒนธรรม ที่ผ่านการศึกษาตามแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนะรรม ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม มาอธิบายมรดกร่วมทางวัฒนะรรมประเพณีสงกรานต์ของผู้คนที่อาศัยอยุ่ในพื้นที่ล่มแม่น้ำโขงไว้อย่างชัดเจน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3KBK2Y3
เรียบเรียงโดย : ภัทรศยา สนองผัน, ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- Ask a Librarian: https://library.stou.ac.th/
- Line: https://lin.ee/7kovVTi
- Facebook: http://m.me/stoulibrary
- อีเมล: [email protected], [email protected]