กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์ และณฐิตากานต์ พยัคฆา. (2564). พิธีกรรมทำขวัญข้าวกับวิถีเกษตรกรรมที่เปลี่ยนไป.วารสารวิชาการเกษตร. 39(3), 330-339
บทความนี้ได้นำเสนอและอธิบายถึงความเป็นไปของวิถีเกษตรกรรมที่ส่งผลต่อภูมิปัญญา “การทำขวัญข้าว” ที่เกิดขึ้นจากกจากความเชื่อที่ว่า ต้นข้าวมีขวัญหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองที่เรียกว่า “แม่โพสพ” ผู้เขียนบทความได้อธิบายถึงตำนานของแม่โพสพ ที่ได้ชื่อว่าเป็นเทพธิดาประจำข้าวหรือแม่แห่งข้าว ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของตำนาน การทำเกษตรกรรมและวิถีชีวิตผู้คนในอดีต สาเหตุของการพิธีการทำขวัญข้าว พิธีการทำขวัญข้าว รวมไปถึงบทสวด บทคำร้องในพิธี ทั้งนี้ผู้เขียนบทความได้กล่าวถึงปัจจุบันที่วิถีเกษตรกรรมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้พิธีกรรมการทำขวัญข้าวค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมชาวนาไทย โดยได้อธิบายถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการวิถีเกษตรกรรมสมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็ได้นำเสนอถึงขั้นตอนการทำเกษตรกรรมในส่วนของ “การทำนา” หรือการปลูกข้าว ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ที่เริ่มตั้งแต่ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว และ พิธีกรรมการทำขวัญข้าว ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวและนวดข้าวเพื่อเตรียมจะเก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง และขั้นตอนสุดท้ายคือ การเก็บรักษาเมล็ดข้าว นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้สรุปถึงความสัมพันธ์ ความแตกต่าง ข้อดีและข้อเสียของการทำนาในอดีตและปัจจุบันไว้เช่นเดียวกัน
เรียบเรียงโดย: ภัทรศยา สนองผัน, ฝ่ายบริการสื่อการศึกษา
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ :
ฉบับออนไลน์ : https://bit.ly/3NN6rTv
ฉบับพิมพ์ : https://bit.ly/3MZMdpn
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- Ask a Librarian: https://library.stou.ac.th/
- Line: https://lin.ee/7kovVTi
- Facebook: http://m.me/stoulibrary
- อีเมล: [email protected], [email protected]